ผู้ป่วยที่แพทย์อาจสั่งเจาะวัดระดับยา Phenytoin มีดังต่อไปนี้
- ผู้ป่วยเริ่มยาใหม่ (OPD, IPD)
- ผู้ป่วยเก่า มาตามนัด F/U ยังคุมอาการชักไม่ได้ (OPD, IPD)
- ผู้ป่วยเก่า มาด้วยอาการชักที่ห้องฉุกเฉิน (ER)
- ผู้ป่วยเก่า ไม่มีอาการชัก ต้องการเช็คระดับยาหลังปรับขนาดยา/เพิ่มยาที่มี drug interaction ผู้ป่วยมีภาวะทางคลินิกที่ส่งผลต่อระดับยา สงสัยการเปลี่ยนแปลงทางเภสัชจลนศาสตร์ (OPD, IPD)
- ผู้ป่วยเก่า ไม่มีอาการชัก ต้องการประเมินความร่วมมือการใช้ยาของผู้ป่วย (OPD, IPD)
เมื่อแพทย์สั่งเจาะวัดระดับยา Phenytoin
1. เภสัชกรซักประวัติผู้ป่วย
- ระยะเวลาที่ได้รับยา
- Adherence
- dose & dosage form
- เวลากินยาหรือได้รับยามื้อสุดท้าย
2. ตรวจสอบว่าระดับยาของผู้ป่วยอยู่ใน Steady state หรือไม่
✔️ ผู้ป่วยกินยาอย่างต่อเนื่อง
✔️ ระยะเวลาที่กินยาหลังจากเริ่มยา/ปรับขนาดยา มากกว่า T90% (โปรแกรมคำนวณ) หรือ มากกว่า 2 สัปดาห์
3. ตรวจสอบเวลาเจาะเลือดที่แพทย์สั่ง
3.1 ทุกข้อบ่งชี้ยกเว้นสงสัยระดับยาเป็นพิษควรเจาะ Ctrough (ภายใน 1 ชั่วโมงก่อนให้ยามื้อถัดไป) หรือ สงสัยความเป็นพิษจากยาควรเจาะ Cpeak (0.5 – 6 ชั่วโมงหลังได้ยา ดูรายละเอียดเพิ่มเติม)
- ✔️ ยืนยันเวลาเจาะ และปรึกษาแพทย์สั่งเจาะ albumin ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง hypoalbuminemia
- ✔️ ระดับยาของผู้ป่วยอยู่ใน Steady state -> ผลระดับยานำไปใช้ปรับขนาดยาได้
- ❌ ระดับยาของผู้ป่วยไม่อยู่ใน Steady state -> ผลระดับยาใช้ monitor ได้อย่างเดียว ถ้าต้องการใช้ปรับระดับยาต้องนัดเจาะเลือดอีกครั้ง
- ❌ ปรึกษาแพทย์เปลี่ยนเวลาเจาะ (กรณีเวลาไม่เหมาะสม) หรือนัดวันเจาะเลือดใหม่ (ระดับยายังไม่อยู่ใน Steady state)
➕ แจ้งผู้ป่วยให้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง หากกินยาช่วงเช้า ให้งดยาวันที่มาเจาะเลือด และนำยามากินหลังเจาะเลือดแล้ว
3.2 เจาะ ณ เวลาใดใด (Cimmediate) ในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการชัก
- ปรึกษาแพทย์สั่งเจาะ albumin ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง hypoalbuminemia
- ✔️ ระดับยาของผู้ป่วยอยู่ใน Steady state -> ผลระดับยานำไปใช้ปรับขนาดยาได้
- ❌ ระดับยาของผู้ป่วยไม่อยู่ใน Steady state -> ผลระดับยาใช้ monitor ได้อย่างเดียว ถ้าต้องการใช้ปรับระดับยาต้องนัดเจาะเลือดอีกครั้ง