Home › Forums › Question&Answer – คำถาม/คำตอบเรื่องยา การรักษา › Methylprednisolone for Management acute spinal cord injury
Tagged: Methylprednisolone
- This topic is empty.
- AuthorPosts
- 16/01/2020 at 04:09 #295RachanontKeymaster
คำถาม
ผู้ป่วยหนัก 65 kg เป็น acute spinal cord injury มาโรงพยาบาล แพทย์จะสั่งจ่าย Methylprednisolone อยากทราบว่า Methylprednisolone มีบทบาทอย่างไรสำหรับกรณี acute spinal cord injury
แล้วสามารถใช้ steroid ตัวอื่นแทนได้หรือไม่ และวิธีให้ Methylprednisolone ทำอย่างไร ให้ dose เท่าไร ผสมอย่างไร
คำตอบ
Acute spinal cord injury จะแบ่งเป็น 2 ช่วงหลักๆ คือ Primary spinal cord injury และหลังจากนั้นจะเกิดผลต่อเนื่องกลายเป็น Secondary spinal cord injury (1) โดยในส่วนของ Secondary spinal cord injury นั้นสามารถเกิดได้หลายกลไกแต่หนึ่งในนั้นคือ การเกิด Lipid peroxidation ซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิด oxygen free radical ไปสร้างความเสียหายใน spinal cord ได้ (2)
การศึกษาของ Bracken MB, et al. เป็น Meta-analysis ที่รวม 8 trials พบว่า Methylprednisolone มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา Acute spinal cord injury และจากการศึกษา Methylprednisolone หลากหลายขนาด พบว่าขนาดยาสูงสุดจะให้ประสิทธิภาพในการรักษามากที่สุด(3) สามารถอธิบายตามหลักเภสัชวิทยาได้โดย High dose Methylprednisolone จะมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจาก Steroid ตัวอื่นๆ รวมถึง Methylprednisolone ใน dose ปกติด้วย คือจะไม่สัมพันธ์กับ corticosteroid receptor แต่กลไกหลักคือ การยับยั้ง Lipid peroxidation (2) ดังนั้นกรณีของ Secondary spinal cord injury จึงไม่สามารถใช้ steroid ตัวอื่นๆได้ แต่จะใช้ได้เพียง High dose Methylprednisolone เท่านั้น
การให้ยาตามคำแนะนำของ Drug Information Handbook สำหรับรักษา Acute spinal cord injury แนะนำคือ ให้ IV push 30 mg/kg เป็นเวลา 15 นาที จากนั้นอีก 45 นาที ให้ตามด้วย Continuous infusion 5.4 mg/kg/hr 23 ชั่วโมง (4)
ที่ต้องให้ยา IV push ในขนาด 30 mg/kg เป็นเพราะระดับยาในเลือดที่ 30 mg/kg จะสามารถกดระดับ lactate ใน spinal cord ที่เกิด injury ไม่ให้สูงได้ แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ Methylprednisolone ใน tissue ต่ำ จะส่งผลให้ระดับ lactate ใน spinal tissue สูงขึ้น จึงต้องให้ยาเป็น Continuous infusion เพื่อคงระดับยาในเลือดให้อยู่ในช่วงที่สามารถ กดระดับ lactate ใน spinal cord ที่เกิด injury ไม่ให้สูงได้ (5)
และเนื่องจากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของ Methylprednisolone นั้นมีอายุสั้น จึงจำเป็นต้องให้ยาภายใน 8 ชั่วโมงหลังเกิด Acute spinal cord injury (6) ส่วนระยะเวลาที่ต้องให้ maintain Methylprednisolone จะขึ้นอยู่กับ onset ในการเริ่มยา กล่าวคือ ถ้าเริ่มให้ยาภายใน 3 ชั่วโมงแรกหลังเกิด injury จะให้ยาเพียง 24 ชั่วโมง แต่ถ้าเริ่มยาภายใน 3-8 ชั่วโมงหลังเกิด injury จะให้ยาต่อเนื่องไป 48 ชั่วโมง (5)
การเตรียมยาสำหรับนำไปบริหาร สามารถนำยาไปผสมกับ D5W (conc. = 500 mg to 1 g /L) หรือ NSS (conc. = 500 mg to 30 g /L) ซึ่งมีความคงตัวทั้งทางกายภาพและทางเคมี และสามารถเก็บที่อุณหภูมิห้อง (25ºC) หลังผสมได้นาน 24 ชั่วโมง (7)
วันที่ถาม/วันที่ตอบ: 18 ม.ค. 60 / 18 ม.ค. 60
เอกสารอ้างอิง:
1. ศุภาพร รัตนสิริ. การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง. งานการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์[Internet]. [cited 2017 Jan 18]. Available from: http://www.med.cmu.ac.th/…/47-spinal-cord-injury-nursing-ca…
2. CHUNG Y., DIMITRIJEVI HR. Commentary Methylprednisolone is spinal cord injury the possible Mechanism od Action. Journal of Neurotrauma. 1990; 7
3. Bracken MB. Steroids for acute spinal cord injury[Internet]. [cited 2017 Jan 18]. Available from:
http://onlinelibrary.wiley.com/…/14651858.CD001046.pub2/full
4. American Pharmacists Association. Drug Information Handbook. 23rd ed. Ohio: Lexicomp; 2014
5. Hall ED, Spinger JE. Neuroprotection and Acute Spinal Cord Injury: A Reappraisal. NeuroRx. 2004; 1(1): 80–100.
6. Methylprednisolone Sodium Succinate Injection[Internet]. [cited 2017 Jan 18]. Available from: http://www.srisangworn.go.th/…/Methylprednisolone%20Sodium%…
7. Trissel LA. Handbook on Injectable Drugs.11th ed. Texas;2001.ผู้ตอบ : นสภ.นภัสสร สกุลยืนยง / ภก.วัชรพงศ์ พริกสี (ผู้ตรวจสอบ)
ที่มา – ศูนย์ข้อมูลยาและบริบาลเภสัชกรรม รพ.ชลบุรี @DISChonburi
- AuthorPosts
- You must be logged in to reply to this topic.