สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนเสนอแพทย์ปรับขนาดยา

สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนเสนอแพทย์ปรับขนาดยา

✔️ อาการของผู้ป่วยไม่ได้มีสาเหตุมาจาก medication error

✔️ ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการใช้ยา

✔️ เวลาเจาะเลือดเหมาะสม

✔️ ไม่มี food-drug interaction (ในเคส NG feed ระดับยาอาจจะต่ำกว่าปกติได้)

ข้อปฏิบัติในการปรับขนาดยา

  • ควรยึดถืออาการแสดงทางคลินิกเป็นหลัก (สำคัญกว่าผลระดับยา)
  • หากผู้ป่วยมี precipitating factor* กระตุ้นชักและระดับยาที่ steady state อยู่ในช่วงการรักษาแล้ว ไม่ควรปรับขนาดยา phenytoin -> แนะนำให้หลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าว หรือเพิ่มยาชนิดอื่น
  • การปรับขนาดยาแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 100 mg/ครั้ง (เพื่อหลีกเลี่ยงพิษจากยาที่อาจเกิดขึ้น)
  • Double check โดยเภสัชกรอีกคนทุกครั้ง
  • การปรับขนาดยาไม่ควรมากกว่า maximum dose (1, 2)
  • ปรึกษาแพทย์เจาะระดับ phenytoin level เพื่อติดตามประสิทธิภาพและพิษจากยาหลังปรับขนาดยาทุกครั้ง(3)

* precipitating factor ได้แก่ ไข้ อดนอน การดื่มหรือหยุดแอลกอฮอล์ การได้รับยาบางชนิดหรือสิ่งเสพติด แสงกระพริบ เสียงดัง ความเครียดทางร่างกายหรือจิตใจที่รุนแรง การมีรอบเดือน การออกกำลังกาย

ขนาดยาสูงสุดที่แนะนำของ phenytoin

ผู้ป่วยขนาดยาสูงสุด
เด็ก10 mg/kg (หรือ based on IBW)
อายุ > 6 ปี สามารถใช้ max dose 300 mg/day ได้ (ทางเลือก)
ผู้ใหญ่ไม่เกิน 400 mg/day
ผู้มีอายุมากกว่า 60 ปีไม่เกิน 300 mg/day
               หากมีความจำเป็นต้องปรับยาขนาดสูง ให้ติดตามอาการข้างเคียงและระดับยาอย่างใกล้ชิด

เอกสารอ้างอิง

  1. Lambie DC, Caird FI. Phenytoin dosage in the elderly. Age Ageing. 1977;6(3):133-7.
  2. UpToDate. Phenytoin  [cited 2020 May 31].
  3. กาญจนา อั๋นวงศ์, บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติโรคลมชักสำหรับแพทย์ Clinical practice guideline for epilepsy. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธนาเพรส; 2559.