ปัจจัยกระตุ้นอาการชัก และอาการแสดงพิษจากยา phenytoin ที่สัมพันธ์กับระดับยาในเลือด

ปัจจัยกระตุ้นอาการชัก

ปัจจัยกระตุ้นการชัก (precipitating or trigger factor)(1) ได้แก่ ไข้ อดนอน การดื่มหรือหยุดแอลกอฮอล์ การได้รับยาบางชนิดหรือสิ่งเสพติด แสงกระพริบ เสียงดัง ความเครียดทางร่างกายหรือจิตใจที่รุนแรง การมีรอบเดือน การออกกำลังกาย

การเจ็บป่วยปัจจุบันที่อาจเป็นสาเหตุของอาการชัก

การติดเชื้อในสมอง อุบัติเหตุของศีรษะระยะเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ความผิดปกติทาง metabolic หรือมีไข้สูงในเด็ก เป็นต้น(1)

อาการแสดงพิษจากยา phenytoin ที่สัมพันธ์กับระดับยาในเลือด

Phenytoin adverse reaction(2) ที่พบบ่อยที่มักสัมพันธ์กับระดับยา ได้แก่ อาการกลุ่ม acute toxicity

Chronic Phenytoin
Adverse Effects
Acute phenytoin toxicityChronic phenytoin toxicity
Megaloblastic anemia
Hepatotoxicity
Lymphadenopathy
Osteoporosis
Hirsutism
Gingival hyperplasia
Thickening of facial features
Peripheral neuropathy
Vitamin D deficiency
Hyperglycemia
อาจเกิดภาวะ tremor ได้ทุกช่วงระดับยา
>20-30 mg/L: nystagmus (ตากระตุก)a, diplopia (เห็นภาพซ้อน)
>30-40 mg/L: ataxia (เดินเซ), GI (nausea, vomiting, constipation)
>40-50 mg/L: lethargy (ไม่มีแรง), confusion, combative (ต่อสู้), slurred speech
>50 mg/L: choreoathetoid
movements, opisthotonic posturing (เคลื่อนไหวผิดปกติ)
Confusional state (delirium, psychosis, encephalopathy)
Irreversible cerebellar dysfunction (dysarthria, ataxia, intention tremor, muscular hypotonia)
Peripheral neuropathy  
อาการข้างเคียงจากการใช้ยา phenytoin

a ในผู้ป่วยบางรายอาจมี nystagmus ได้แม้ระดับยา 15 mg/L, ในบางรายที่ระดับยาสูงถึง 30 mg/L อาจไม่มีอาการข้างเคียง

เอกสารอ้างอิง

1. กาญจนา อั๋นวงศ์, บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติโรคลมชักสำหรับแพทย์ Clinical practice guideline for epilepsy. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธนาเพรส; 2559.

2. Millares-Sipin CA, Alafris A, Cohen H. Phenytoin and Fosphenytoin. In: Cohen H, editor. Casebook in Clinical Pharmacokinetics and Drug Dosing. New York, NY: McGraw-Hill Education; 2015.